หลัก 5 อ. ดูแลผู้สูงวัยสุขภาพดี อายุยืน

ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงที่สุดในอาเซียน และกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากถึงร้อยละ 14 ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ทำให้อัตราการเกิดน้อยลง ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ

Read more

กระดูกพรุน ทำกระดูกหักซ้ำซ้อน

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบ ทำกระดูกหักซ้ำซ้อนในผู้สูงอายุ ชี้ออกกำลังกาย กินอาหารครบ 5 หมู่ ลดอาหารไขมันสูง งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ช่วยป้องกันได้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง

Read more

ประกาศแล้ว! กม.ผู้สูงอายุ ดึงเงินภาษีบาป 2% จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

๒๗ ธ.ค.๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายละเอียดระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชา ติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา

Read more

ผู้สูงอายุที่ตายตามลำพังในประเทศไทย

เป็นภาพที่น่าเศร้าและสะเทือนใจเมื่อพบว่ามีผู้เสียชีวิตอยู่ตามลำพังซึ่งกว่าจะมีคนมาพบศพก็อืดเน่าให้หนอนกินไปแล้ว เรื่องผู้สูงอายุเสียชีวิตตามลำพังนี้มีมานานแล้วในประเทศญี่ปุ่นเพราะเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอดมีผู้สูงอายุจำนวนมากเกือบร้อยละ 30 ของประชากรของญี่ปุ่น หรือราว 35 ล้านคน และมีผู้ที่อยู่ตามลำพังจำนวนมากราว 18 ล้านคน (ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายวัย 50 ปีเศษ และผู้หญิงวัย 80 ปีขึ้นไป) สถานการณ์ที่มีผู้ที่เสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โคโดคุชิ (Kodokushi)

Read more

สูงวัยไทยป่วย “ความดันโลหิตสูง” เพิ่มมากขึ้น

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกหรือ WHO พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่วยเป็นภาวะความดันโลหิตสูง และภายในปี 2568 คาดว่า ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นถึง 1.56 พันล้านคนทั่วโลก โดยในสัดส่วนของประเทศไทยนั้น พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงกว่า 1.6 ล้านคน จากผู้สูงอายุทั้งหมด

Read more

กระดูกพรุน ภัยร้าย! คนสูงวัย

ปัจจุบันเรามักได้ยินว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคม “ผู้สูงอายุ” แล้ว ทำให้มีคำแนะนำหรือข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุว่ามีโรคอะไรที่จะเกิดขึ้นเมื่อพยาธิสรีระมีการเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ควรต้องระมัดระวังให้มากที่สุดในผู้สูงอายุ เป็นภัยร้ายที่อาจตามมานั่นคือ“กระดูกพรุน” ที่รอวันหักในเวลาที่เกิดพลัดหกล้ม จนกลายเป็น“วงจรเศร้าสลด”และต้องทนทุกข์ทรมานก่อนจากโลกนี้ไป  ผศ.นพ.สมบัติ โรจน์วิโรจน์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า “กระดูกพรุน” มีสาเหตุเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกบางลง หากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงเปลือกไข่เปราะๆ บางๆ แตกหักง่าย ทำให้บางคนตัวเตี้ยลง เนื่องจากกระดูกโปร่งบางและยุบตัวช้าๆ ที่น่าเป็นห่วง คือผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดกระดูกแตกหักง่ายกว่าคนทั่วไป จะทราบได้อย่างไรว่าตัวเองมีภาวะ “กระดูกพรุน” โดยทั่วไปกระดูกที่พรุนหรือมวลกระดูกบางลงจะไม่มีอาการแสดงออก เรียกว่าเป็นภัยเงียบที่ซ่อนเร้นอยู่

Read more

6 วิธีดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุที่สังคมไทยต้องช่วยกันดูแลอย่างจริงจัง คือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นภาวะที่พบมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากโครงสร้างประชากรของไทยในปัจจุบัน มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาโรคอัลไซเมอร์ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับตัวผู้ป่วยเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอย่างที่เรานึกไม่ถึงกันเลยทีเดียว ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นข่าวกันอยู่บ่อยๆ ที่ผู้สูงอายุออกไปนอกบ้านลำพัง หรือพลัดหลงกับบุตรหลานแล้วไม่สามารถตามตัวกลับบ้านได้ บางคนก็ถูกบุตรหลานทอดทิ้ง บางคนอาจประสบอุบัติเหตุหรือต้องกลายเป็นบุคคลคนเร่ร่อนไป ในปัจจุบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จำนวนมากถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้ในอดีตเคยเป็นกำลังสำคัญในการเลี้ยงดูครอบครัว และทำงานสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติของเรา

Read more

รู้ไว้ไม่เจ็บ “สูงวัย” กับการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องเรียนรู้ หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้สูงอายุ ก็ควรจะดูแลและให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโภชนาการ และการออกกำลังกาย ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุที่สนใจออกกำลังกายจำนวนมาก ผศ.พญ.พิมพ์ใจ อันทานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ โดยแนะนำข้อควรปฏิบัติดังนี้ ข้อควรปฏิบัติสำหรับออกกำลังกาย ผู้สูงวัย 1.ให้เริ่มออกแรงตามขีดความสามารถ แล้วค่อยๆ

Read more

หกล้มในวัยชรา

การหกล้มในผู้สูงอายุอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่กระดูกพรุนแม้จะไม่รุนแรงก็อาจทำให้กระดูกหัก ผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปี กระดูกต้นขาหักมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งเป็นผลจากทั้งกระดูกที่หักโดยตรง เช่น เสียเลือดมาก หรือศีรษะกระแทกพื้นหรือของแข็งๆ และจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในปอดจากการนอนติดเตียง หรือหกล้มซ้ำจนเกิดอุบัติเหตุรุนแรง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทั้งอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้หญิง และการป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ที่มีอายุ

Read more

ผู้สูงอายุกับการตรวจร่างกาย

โรคที่อาจตรวจพบในผู้สูงอายุ เช่น ความดันโลหิตสูงจากการวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน ซึ่งรวมถึงโรคที่ตรวจจากการซักประวัติ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมจนเกิดภาวะข้างเคียง ไม่สามารถที่จะออกไปพบปะสังคมกับผู้อื่น หกล้มบ่อยๆ ภาวะทุพโภชนาการ และมะเร็งเต้านม การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ โดยทั่วไปด้วยวิธีการเหล่านี้พบว่าสามารถตรวจพบโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ในผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้เพียง 2-3% การตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องปฏิบัติคู่ไปกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายจากแพทย์เสมอ โรคที่พบได้บ่อยจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

Read more