สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับ“ผู้สูงอายุ”

เมื่อประชากรไทยกำลังสูงวัยขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบที่สำคัญที่ตามมาอย่างหนึ่งคือ เรื่องปริมาณและคุณภาพของที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ที่อาศัยมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ ละที่อยู่อาศัยเหล่านั้นมีคุณภาพเหมาะสมที่ทำให้ผู้สูงอายุอยู่ได้อย่างปลอดภัย มั่นคง และมีศักดิ์ศรีเพียงไร “ที่อยู่อาศัย” ในที่นี้มีความหมายรวมถึง บ้านเรือน ครอบครัว ชุมชน สิ่งแวดล้อมและพื้นที่สาธารณะที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ผู้สูงอายุควรได้มีชีวิตอยู่ในที่อยู่อาสัยที่สะดวกพอสมควรในบั้นปลายชีวิต

รูปแบบการอยู่อาศัยของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในรอบ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้คนไทยอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีขนาดเล็กลง ปัจจุบันครัวเรือนไทยมีขนาดเฉลี่ยเพียง 3 คน เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ครัวเรือนผู้สูงอายุไทยยังมีความหลากหลายในการอยู่อาศัยมากขึ้นทั้งในลักษณะของการอาศัยอยู่คนเดียว อยู่ด้วยกันตามลำพังในครัวเรือนที่มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้นหรือครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุกับหลาน ที่เรียกว่า “ครอบครัวข้ามรุ่น” (Skipped Generation)

เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ของผู้สูงอายุเสื่อมสภาพลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการได้ยิน การมองเห็น หรือการเคลื่อนไหน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ รูปแบบการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลผู้สูงอายุที่ทั้งเป็นคนในครอบครัว และชุมชนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ รวมถึงสถานดูแลผู้สูงอายุที่รัฐจัดเป็นสวัสดิการ หรือเอกชนดำเนินการในเชิงธุรกิจ

สถานที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมี 2 ประเภท คือ การอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเดิมที่ผู้สูงอายุคุ้นชิน และการอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งเป็นการจัดสวัสดิการของรัฐในเรื่องที่อยู่อาศัย หรือการจัดที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์สำหรับผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่อยู่เดิมได้

 

เครดิตข้อมูล : http://bit.ly/2rKYCHJ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *