🍁ภูมิปัญญางานจักสาน เปลี่ยนวันว่างให้มีคุณค่า🍁
คนหลัก 6 ยิ่งได้ทำงาน หรือหากิจกรรมยามว่างทำ ถือเป็นการดูแลสุขภาพและลับสมองไปพร้อมๆ กัน เพราะการปล่อยตัวเองให้อยู่นิ่งๆ อาจเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้ ป้ามะลิ พูนสวัสดิ์ คลังปัญญาผู้สูงอายุ จ.สมุทรปราการ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างคนเกษียณวัย 79 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นราชการครูสอนวิชาคหกรรม ใน จ.สมุทรปราการ นั่นจึงทำให้มีความรู้เกี่ยวกับงานฝีมือ โดยเฉพาะงานจักรสานจากทางมะพร้าว หรือต้นไม้ในชุมชนระแวกบางน้ำผึ้ง จ.สมุทรปราการ ที่ปัจจุบันแม้ว่าจะเกษียณแล้ว เจ้าตัวก็ยังใช้เวลาว่างในการให้ความรู้เกี่ยวกับการฝีมือดังกล่าว เพื่อให้ตกทอดไปยังเด็กเยาวชน ตลอดจนกลุ่มแม่บ้านจากชุมชนต่างๆ ที่สนใจงานจักสานจากต้นไม้ หรืองานประดับตกแต่งบ้านเรือนด้วยพวงมะโหด เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจคือไลฟ์สไตล์การกินอยู่และออกกำลังกาย ที่พลิกแพลงนำเอาการละเล่นเดินกะลามะพร้าวมาเป็นการขยับแข้งขยับขา ที่ดีต่อสุขภาพชนิดที่คนหลัก 5 หลัก 6 คาดไม่ถึง
ป้ามะลิ พูนสวัสดิ์ คลังปัญญาผู้สูงอายุ จ.สมุทรปราการ เล่าว่า “เมื่ออายุมากขึ้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการออกกำลัง ซึ่งส่วนตัวของป้ามะลิจะชอบการแกว่งแขนเป็นประจำ นอกจากนี้ทุกเช้าก็จะออกกำลังกายด้วยการเหยียบกะลามะพร้าวที่เจาะรูข้างละ 1 อัน จากนั้นก็จะเกาะโต๊ะไว้เพื่อกันล้ม ทั้งนี้สเต็ปในการเหยียบกะลามะพร้าวของป้า เริ่มจาก 1.ให้เหยียบบนกะลามะพร้าวทั้งสองข้าง (มือจับโต๊ะหรือพนังไว้เพื่อกันล้ม) โดย ใช้ปลายนิ้วเท้าทั้งสองจิกลงบนกะลามะพร้าว จากนั้นให้เขย่งส้นเท้าขึ้นช้าๆ พร้อมกับหายใจเข้าให้เต็มปอด และระหว่างที่เขย่งส้นเท้าลงบนกะลามะพร้าวให้หายใจออก โดยทำประมาณ 10 ครั้ง เพราะว่าบริเวณปลายนิ้วเท้านั้นจะเป็นแหล่งรวมของเส้นประสาท ที่ส่งตรงไปยังสมองและสายตา ก็เท่ากับเป็นการบริหารอวัยวะทั้ง 2 อย่างควบคู่กันไป
ยอมตอบแล้ว! อดีตธิดาช้างบอกหมด ไดเอตยังไงให้ชีวิตเปลี่ยน
ยอมตอบแล้ว! อดีตธิดาช้างบอกหมด ไดเอตยังไงให้ชีวิตเปลี่ยน
ของแท้น่าครอบครอง! นาฬิกาแบรนด์สวิส ลด 90% วันนี้
ของแท้น่าครอบครอง! นาฬิกาแบรนด์สวิส ลด 90% วันนี้
รู้หรือไม่? “สระผม” อาจเป็นต้นเหตุของผมร่วง!
รู้หรือไม่? “สระผม” อาจเป็นต้นเหตุของผมร่วง!
ส่วนท่าที่ 2.คือ ใช้ส้นเท้าจิกลงบนกะลามะพร้าว แทนปลายเท้า และเหยียดปลายเท้าขึ้นให้สุดบนกะลามะพร้าว พร้อมกับหายใจเข้า จากนั้นก็ให้สลับวางปลายเท้าลง พร้อมกับหายใจออก และให้ส้นเท้าจิกขึ้นบนกะลามะพร้าวเหมือนเดิม ทำ 10 ครั้งสลับขึ้นลง ทั้งนี้บริเวณส้นเท้าจะเป็นแหล่งรวมอวัยวะภายใน เช่น ปอด และกะเพราะอาหาร ส่วนท่าที่ 3.เหยียบกะลามะพร้าวด้วยกลางฝ่าเท้า (มือจับโต๊ะหรือพนังกันล้ม) โดยเริ่มจากการหมุนซ้ายขวาช้าๆ และค่อยๆ หมุนสลับปลายเท้า กระดกขึ้นลงอย่างช้าๆ ทำ 10 ครั้งเช่นกัน ซึ่งตอนแรกที่ป้ามะลิเลือกออกกำลังกายด้วยกะลามะพร้าวนั้น ก็จะค่อนข้างเจ็บเท้า แต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ทุกเช้า ก็จะไม่รู้สึกเจ็บ อีกทั้งการที่รู้จักเจ็บเท้าในครั้งแรกที่เหยียบกะลามะพร้าว นั่นแปลว่าร่างกายของเรามีโรคประจำตัวอยู่ แต่ถ้าทำทุกวันก็จะเริ่มดีขึ้น และไม่รู้สึกเจ็บเท้าค่ะ”
ส่วนการดูแลสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหาร และดูแลจิตใจท่ามกลางความเครียดสะสมจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 นั้น ป้ามะลิ บอกว่าเอาอยู่แน่นอน เพราะชุมชนที่เจ้าตัวอาศัยอยู่อย่างย่านบางน้ำผึ้ง มีต้นไม้เยอะและถือเป็นแหล่งฟอกปอดที่ดี บอกว่า “การเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพของป้า คือการใช้หลักทั่วไปค่ะ เน้นการบริโภคผักและผลไม้เป็นหลัก ที่สำคัญป้าจะกินอาหารครบทั้ง 3 มื้อ ทั้งนี้ระหว่างวันก็จะไม่รับประทานอาหารจุกจิกค่ะ ส่วนเมนูสุขภาพดีของป้าคือ เน้นเมนูผัดผัก แกงจืดหมูสับ และที่สำคัญจะเน้นกินอาหารพื้นบ้านไม่หรูหรา เช่น น้ำพริกปลาทูกับผักสด ผักลวก ที่เราสามารถหาได้จากริมรั้วที่เราปลูกเองค่ะ ส่วนเคล็ดลับการปรุงอาหารที่ดี ผักและผลไม้ที่เรานำมาปรุงอาหารนั้น เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกะหล่ำปลี ก็จะแช่น้ำให้นานพอสมควร เพื่อล้างสารพิษออกก่อนค่ะ
ขณะที่การดูแลจิตใจให้สงบนั้น หลักๆ ป้าจะเลือกใช้การสวดมนต์ ส่วนการรับมือกับความเครียดในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด และหลายคนก็รู้สึกเครียด ตรงนี้ป้าไม่เครียดค่ะ เพราะชุมชนบางน้ำผึ้งในคุ้งบางกะเจ้านั้น ค่อนข้างมีต้นไม้เยอะมาก อีกทั้งฝุ่นก็จะน้อยกว่าแถบระแวกพระประแดง ทำให้ป้าไม่เป็นกังวลเรื่องฝุ่นละออง รวมถึงการที่ต้นไม้เยอะทำให้ร่มรื่น และป้าไม่ต้องออกไปไหนในช่วงนี้ อีกทั้งชุมชนก็ไม่แออัด ทำให้ไม่ต้องพะวงเรื่องไวรัสจะระบาด นั่นจึงทำให้จิตใจของเราผ่อนคลายไม่เครียดค่ะ”
เกริ่นไว้ตอนต้นว่า ป้ามะลิ ในวัย 79 ปีนั้น เป็นครูเกษียณ ที่สำคัญเจ้าตัวเคยสอนวิชาคหกรรม และจบด้านคหกรรมโดยตรง ซึ่งความรู้และความชำนาญเหล่านี้ ได้ถูกมานำสอนเด็กเยาวชน นักศึกษา ตลอดจนกลุ่มแม่บ้านที่สนใจ งานฝีมือจักสานจากต้นไม้ใบไม้ เพื่อนำไปต่อยอดเป็นอาชีพ รวมถึงนำไปสอนปู่ย่าตายาย เพื่อใช้เวลาว่างร่วมกัน จึงเป็นงานฝีมือที่มีประโยชน์และดีต่อใจของผู้ให้สู่ผู้รับ
“ปัจจุบันนี้ป้ามะลิสอนอยู่ที่ศูนย์เรียนรู้ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จ.สมุทรปราการ ก็สอนเกี่ยวกับการสานใบไม้เป็นรูปต่างๆ อาทิ ปลาตะเพียน ตะกร้อ ตะกร้า หมวกทางมะพร้าว และพวงมะโหดที่ใช้ประดับบ้านเรือน ซึ่งทุกวันนี้ก็มีทั้งเด็ก นักศึกษาที่มาทำโครงงาน และมาเรียนกับป้าครั้งละ 1-2 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นอกจากนี้ก็จะมีกลุ่มอาชีพต่างๆ มาเรียนรู้ทุกวัน ก็สอนอาทิตย์ละ 1-2 วัน เดือนหนึ่งก็ไปสอนตามหน่วยงานต่างๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งการให้ความรู้เกี่ยวกับการงานจักสานใบไม้นั้น ไม่ได้เน้นเรื่องรายได้มากนัก ก็จะมีเพียงแค่ตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ แต่สิ่งที่เราได้คือการได้เผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นไปให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่ได้กลับมานั้นคือความภูมิใจและรู้สึกดีใจ ที่เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับงานฝีมือเหล่านี้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ค่อนข้างโอเคมากๆ สำหรับผู้เรียนทุกกลุ่ม เพราะคนที่มาเรียนรู้กับป้ามะลิก็จะค่อนข้างสนใจ และใส่ใจงานฝีมือดังกล่าวค่ะ”
คุณครูเกษียณในวัยย่าง 80 ปี ได้ฝากทิ้งท้ายไว้สำหรับเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ว่า “การที่เด็กและเยาวชนไทยไม่ลืมงานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น เป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะการที่น้องๆ หนูๆ มาเรียนกับคุณยายนั้น ก็สามารถที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับคนในท้องถิ่นของตัวเองได้ หรือนำไปสอนให้กับปู่ย่าตายาย ซึ่งเท่ากับเป็นฟื้นฟูอาชีพ และต่อยอดให้เป็นงานฝีมือรูปแบบอื่นจากการจักสานใบไม้ก็ได้อีกเช่นเดียวกัน ที่สำคัญยังทำให้เด็กลูกหลาน ได้ใช้เวลาว่างรับกับผู้สูงวัยอีกด้วยค่ะ”.
ที่มา : ไทยโพสต์