สูงวัยอย่างสง่า เจ็บอย่างสบาย จากไปอย่างสงบ

กิจกรรมปฏิบัติธรรม ณ สถานปฏิบัติธรรมบ้านธนาศิริ นำพาให้สมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุของ forOldy ได้ไปสู่คำขวัญของโครงการ ขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์วิชิต ชิตจิตโต คุณแม่กุลนรา กังวานโอฬารรัตน์ คุณธนาศิริ กังวานโอฬารรัตน์ ที่เป็นเจ้าภาพในการปฏิบัติธรรม ขออนุโมทนาบุญกุศลในครั้งนี้จงดลบันดาลให้คุณแม่กุลนรา คุณธนาศิริและครอบครัวกังวานโอฬารรัตน์ที่ร่วมมีส่วนในการสร้างบุญครั้งนี้ มีแต่ความสุขและสุขภาพแข็งแรง    

Read more

ผู้สูงอายุกับการตรวจร่างกาย

โรคที่อาจตรวจพบในผู้สูงอายุ เช่น ความดันโลหิตสูงจากการวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน ซึ่งรวมถึงโรคที่ตรวจจากการซักประวัติ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมจนเกิดภาวะข้างเคียง ไม่สามารถที่จะออกไปพบปะสังคมกับผู้อื่น หกล้มบ่อยๆ ภาวะทุพโภชนาการ และมะเร็งเต้านม การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ โดยทั่วไปด้วยวิธีการเหล่านี้พบว่าสามารถตรวจพบโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ในผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้เพียง 2-3% การตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องปฏิบัติคู่ไปกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายจากแพทย์เสมอ โรคที่พบได้บ่อยจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

Read more

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตา ที่ไม่ควรมองข้าม

ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย และไวต่อความรู้สึก อย่างคำที่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” ดังนั้นการถนอมดวงตาให้อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้นานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และกระทู้ข่าวใน internet ออกมาเป็นระยะๆ เกี่ยวกับการสูญเสียความสามารถในการมองเห็น ตาบอด หรือบางครั้งถึงกับสูญเสียดวงตาจากการใช้ยาหยอดตา ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากใช้ยาหยอดตาที่ไม่ผ่านมาตรฐานรับรองจาก อ.ย. โดยปกติแล้วยาหยอดตาควรมีค่าความเป็นกรดด่างหรือค่าพี เอช (pH)7.4 และมีค่า Tonicity ใกล้เคียงกับน้ำตาเพื่อให้เวลาหยอดตาแล้วไม่รู้สึกระคายเคือง สิ่งสำคัญ

Read more

แบบอย่าง งานเพื่อผู้สูงอายุ@เวียดนาม

forOldy ขอขอบคุณ HelpAge International ที่ได้ให้โอกาสไปศึกษาเรียนรู้การดำเนินโครงการ ISHC : Internation Self Help Club – การจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ/ครอบครัวและชุมชนโดยชุมชนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น          

Read more

เตือน “ผู้สูงอายุ” เลี่ยงแดดจัด มักพบเนื้องอกผิวหนัง

สถาบันโรคผิวหนังชี้ “เนื้องอกผิวหนัง” พบมากในผู้สูงอายุ แนะเลี่ยงอยู่กลางแดดจัดเป็นเวลานาน ไม่แกะเกาบริเวณที่เป็นแผลหรือไฝอยู่เดิม และหมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหนังเป็นประจำนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมสภาพของผิวหนังในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากระบบควบคุมการสร้างเซลล์ต่างๆ มีการทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีเนื้องอกเกิดตามบริเวณต่างๆ มากกว่าวัยหนุ่มสาว รวมถึงบริเวณผิวหนังอาจมีก้อนเนื้องอกผิดปกติ ทั้งนี้ ก้อนเนื้อที่พบไม่ได้ เป็นเนื้องอกร้ายแรงเสมอไป ส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกธรรมดา

Read more

มาเดินเพื่อสุขภาพกันเถอะ

การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายนั้น อาจกระทำได้หลายวิธีมากมาย เช่น การเดิน การวิ่ง ตีกอล์ฟ การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก เป็นต้น ถ้าทำถูกวิธีแล้ว การออกกำลังกายล้วนให้ผลดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น การเดิน เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายในทุกเพศ ทุกวัย แม้ในวัยสูงอายุ นอกจากการเดินจะให้ความปลอดภัยสูงแล้ว ยังสามารถทำได้ทุกที่ เทคนิควิธีการเดินที่ถูกต้อง :

Read more

ผู้สูงอายุก็ “ดื่มนม” ได้

ผู้สูงอายุควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว เพื่อเสริมสร้างความให้แรงให้กระดูกและฟัน นมเป็นแหล่งของสารอาหารแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และยังเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินบีสอง ผู้สูงอายุควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1 แก้ว ควบคู่กับการออกกำลังกาย จะทำให้กระดูกแข็งแรง ชะลอความเสื่อมสลายของกระดูก และผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถดื่มนมสดได้ เกิดปัญหาท้องเดิน หรือท้องอืด แต่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการดื่มนมโดยการดื่มครั้งละ

Read more

ดูแลผู้สูงอายุ : สมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม ปัญหาสำคัญที่ทุกคนพยายามดูแลตัวเองและผู้สูงอายุในบ้านให้ห่างไกลจากโรคนี้ ในผู้สูงอายุ จะมี อาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ใกล้ชิดและครอบครัวจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ศึกษา พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถหาวิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม 1. ทำความรู้จักและเข้าใจกับภาวะสมองเสื่อมให้ดี เพื่อหาวิธีรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้เหมาะสมยิ่งขึ้น 2. ทำความเข้าใจกับคนไข้ ใช้ได้ในกรณีที่คนไข้ยังมีปัญหาสมองเสื่อมไม่มาก ซึ่งอาจจะสามารถยอมรับได้กับการอธิบาย ถึงข้อจำกัดของตนเองที่เปลี่ยนแปลงไป 3. แก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากที่สุดก่อน พยายามหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขปัญหาหลายอย่างพร้อมๆ

Read more

สร้างสุขหลัง “วัยเกษียณ” เลี่ยงโรคซึมเศร้า

ผู้สูงอายุหลายคนมองว่า หากเกษียณอายุไปแล้วอาจจะกลายเป็นคนชรา กลัวการปรับตัว ปรับใจ หมดหวัง และกลายเป็นภาวะซึมเศร้า ดังนั้น หลังวัยเกษียณของผู้สูงอายุจะไม่เป็นคนชราอีกต่อไป หากปรับตัว ปรับใจ เตรียมความพร้อม ในการมีเวลาอยู่กับตัวเอง อยู่กับครอบครัวอยู่กับลูกหลาน เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสังคม และสร้างความสุขที่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัวการเกษียณอายุ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ต้องตื่นนอน เตรียมตัวเพื่อไปทำงาน อาจจะส่งผลกระทบด้านจิตใจต่อผู้สูงอายุ หนึ่งในเรื่องนั้น คือ

Read more