หกล้มในผู้สูงอายุ ป้องกันได้เริ่มที่ตัวเอง

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 70 เป็นต้นไป เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและกระดูกหัก พบว่า 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก และบางส่วนต้องใช้รถเข็นตลอดไป นอกจากนี้ยังพบว่าการหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญของการเข้าโรงพยาบาลในผู้ที่มีอายุ 65

Read more

5 ท่าบริหาร ป้องกัน “ข้อเข่าเสื่อม”

“โรคข้อเข่าเสื่อม” หรือ “Osteoarthritis” นอกจากเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่ตามวัย แต่ในปัจจุบันที่พฤติกรรมประจำวันในชีวิตเปลี่ยนปรับบริบทไปเป็นอย่างมากทำให้เกิดการเร่งให้โรคข้อเสื่อมเป็นไปเร็วขึ้น (พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย) จากการไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้น้ำหนักตัวมากขึ้นเพราะต้องรองรับน้ำหนักที่มากเกิน การสวมใส่รองเท้าส้นสูง หรือการนั่งนานๆ อาทิ นั่งงอเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยอง ๆ เป็นประจำ เป็นการเพิ่มแรงอัดภายในข้อเข่า ซึ่งจะรบกวนการนำอาหารไปสู่เซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จนนำไปสู่การสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อโดยตรง

Read more

จัดบ้านปลอดภัย…ช่วยเติมคุณภาพชีวิตชนชรา

ผศ.พ.ท.พญ.พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.พระมงกุฎเกล้า ได้ให้คำแนะนำในการจัดบ้านที่ปลอดภัยสำหรับคนสูงอายุไว้อย่างน่าสนใจ และสมควรแก่ครอบครัวที่มีประชากรวัยชราเป็นสมาชิก หรือกำลังจะเริ่มในอนาคตอันใกล้ ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึง พร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุที่หนีและหลีกเลี่ยงไม่พ้น ผศ.พ.ท.พญ.พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ ให้ข้อมูลว่า “การจัดบ้านที่เหมาะสมเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ลูกหลานหรือแม้แต่ผู้ที่กำลังอยู่ในวัย 45 ปี ขึ้นไปควรให้ความตระหนัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุไม่มีลูกหลาน หรืออยู่กับคู่สมรสเพียงลำพัง เพราะบ้านที่ปลอดภัยจะทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และลดการพึ่งพิงกรณีลูกหลานอยู่ห่างไกลได้

Read more

ป้องกันโรคซึมเศร้าวัยปู่ย่า ลูกหลานต้องหมั่นไปมาหาสู่

ถูกพูดถึงกันถี่ในขณะนี้สำหรับ “โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” เนื่องจากภาพข่าวในปัจจุบันพบว่ามีคนสูงวัยจำนวนไม่น้อยที่เลือกปลิดชีพตัวเองจากปัญหาที่รุมเร้า การผ่านเหตุการณ์รุนแรงที่ฝังใจ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักอย่างภรรยาหรือสามี หรือแม้แต่การถูกลูกหลานทิ้งให้อยู่เพียงลำพังโดดเดี่ยว ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้คิดสั้นได้ทั้งสิ้น เพื่อกระตุ้นให้ใจสบาย กายเป็นสุข พญ.ภาพันธ์ ไทยพิสุทธิกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มีข้อมูลและข้อสังเกตอาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และการป้องกันมาบอกลูกๆ หลานๆ ที่ต้องดูแลร่มโพธิ์ร่มไทร พญ.ภาพันธ์ให้ข้อมูลว่า “ก่อนจะพูดถึงโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุและคนทั่วไป

Read more

บันได 3 ขั้นบำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยมากที่สุดโดยมีปัจจัยที่เป็นเหตุส่งเสริม คือ อายุมากกว่า 65 ปี และกรรมพันธุ์ เช่น มีบิดามารดาป่วยเป็นโรคนี้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 1 ใน 9 คน จะมีภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ในขณะที่ผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป

Read more

“ครอบครัว” กับการดูแลสุขภาพจิต

ปัจจุบันสังคมที่ผู้คนห่างเหินกันในปัจจุบัน ทำให้สถาบันครอบครัวไทยที่เป็นหน่วยพื้นฐานและเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของสังคมอ่อนแอลงอย่างมาก เด็กและคนชราค่อนข้างเหงาและว้าเหว่ ขาดคนดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด สังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาคนรุ่นใหม่ที่ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ขาดความอดทนรอคอย และความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตต่ำลง ผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนมากขึ้นอยู่กับความเหงา และมีปัญหาโรคซึมเศร้ามากขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญ เร่งด่วน และเริ่มต้นได้เลยคือ การทำครอบครัวให้แข็งแรง โดยการให้เวลาแก่กัน มีกิจ กรรมร่วมกัน โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย อาทิ การออกกำลังกายในสวนสาธารณะ

Read more

เเก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุด้วย 4 Smart

กรมอนามัยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ตั้งเป้าหมายให้คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดในอีก 20 ปีข้างหน้า อยู่ที่ 85 ปี และต้องอยู่อย่างมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 75 ปี ที่ผ่านมามีการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพเเก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแนวคิดไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อยหรือ 4 Smart ได้แก่

Read more

12 ข้อคิด ‘แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีสุข’

สักกี่คนที่อายุ 78 ปีแล้วจะสดชื่น เบิกบานทั้งกายใจ อย่างที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินชีวิตอยู่ในเวลานี้ นอกจากชีวิตนี้จะไม่เคยมีคำว่า “เกษียณ” อุทิศตัวทำงานอาทิตย์ละ 7 วันแล้ว ในวันนี้ของ ดร.สุเมธ ยังคงแอ็กทีฟ กระฉับกระเฉง แถมยังเดินป่าไหว จนหลายๆ

Read more

การสื่อสารกับผู้ป่วยสมองเสื่อม

โดยทั่วไปผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีปัญหาการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจทักษะการ ดูแล และการสื่อสารที่ดีกับผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยทั้งในการทำกิจวัตรประจำวัน ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต อารมณ์ และพฤติกรรม ได้อย่างมีคุณภาพและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ การสื่อสารที่ดีกับผู้ป่วยสมองเสื่อม – ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย และแสดงท่าทางที่เหมาะสมอย่างอ่อนโยน – ควรพูดกับผู้ป่วยทางด้านหน้า สบตากันอย่างเหมาะสม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านสายตาและการได้ยิน

Read more

สูงวัย นอนอย่างไรจึงจะดี?

สูงวัย นอนอย่างไรจึงจะดี? ผู้สูงวัยควรนอนประมาณ 7-8 ชั่วโมง และควรนอนก่อน 22 นาฬิกา เพื่อให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) หลั่งออกมาเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และไม่ควรนอนหลับช่วงกลางวัน เพราะอาจทำให้กลางคืนนอนไม่หลับหรือหลับยาก แต่ถ้าหากง่วงมาก ๆ หรือรู้สึกเพลีย สามารถนอนหลับเป็นคาบสั้น ๆ ประมาณ

Read more